- การบ่มเพาะผู้ประกอบการ
- ระบบการบ่มเพาะผู้ประกอบการใหม่
กระบวนการบ่มเพาะวิสาหกิจ มีรายละเอียดดังนี้
ขั้นตอน | กระบวนการบ่มเพาะวิสาหกิจ |
ขั้นตอนที่ 1 | – ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการกรอกใบสมัคร ตามแบบฟอร์มใบสมัครของหน่วยงานบ่มเพาะวิสาหกิจ
– ผู้จัดการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ คัดกรองผู้มีคุณสมบัติ – คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกผู้ประกอบการ และจัดทำแผนการดำเนินธุรกิจ (Plan to do Business) จำนวน 5 ราย |
ขั้นตอนที่ 2 | ดำเนินการบ่มเพาะตามแผนการบ่มเพาะของผู้ประกอบการแต่ละราย |
ขั้นตอนที่ 3 | อบรมและพัฒนาศักยภาพในด้านที่สอดคล้องตามประเภทธุรกิจแก่ผู้ประกอบการ |
ขั้นตอนที่ 4 | – แต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติสอดคล้องต่อประเภทของธุรกิจในสัดส่วน 1 : 1
– แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญภาคเอกชนที่สอดคล้องต่อประเภทของธุรกิจของผู้ประกอบการที่เข้ารับการบ่มเพาะ |
ขั้นตอนที่ 5 | พัฒนาเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์/บริการ (Technology Product Development) ของผู้ประกอบการแต่ละราย โดยอาศัยอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับประเภทของผลิตภัณฑ์/บริการ |
ขั้นตอนที่ 6 | พัฒนาแผนการตลาดของผู้ประกอบการแต่ละรายตามความเหมาะสม โดยหน่วยบ่มเพาะสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวก และประสานความร่วมมือเชิงพาณิชย์ |
ขั้นตอนที่ 7 | นำผลิตภัณฑ์/บริการ ออกสู่ตลาด และทดสอบตลาด |
ขั้นตอนที่ 8 | นำข้อมูลจากการทดสอบตลาดมาปรับปรุงแผนการตลาดให้ตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้า Customer Needs |
ขั้นตอนที่ 9 | นำผลิตภัณฑ์/บริการ ที่พัฒนาแล้วออกสู่ท้องตลาด |
ขั้นตอนที่ 10 | เกิด Start up Companies หรือผู้ประกอบการที่มีรายรับต่อเนื่อง และมีรายได้รวมไม่ต่ำกว่า 60,000 บาทต่อปี (พิจารณาย้อนหลัง 6 เดือน) |
- ขั้นตอนการรับสมัครและคัดเลือกผู้ประกอบการเข้าร่วมการบ่มเพาะ
ผู้รับบริการเป้าหมาย
- เป้าหมายหลัก คือ นักศึกษาปัจจุบัน บัณฑิต ศิษย์เก่า อาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรภายในวิทยาลัยฯ
- เป้าหมายรอง คือ บุคคลภายนอกพื้นที่ชุมชน และบุคคลทั่วไปที่สนใจเข้าร่วมรับบริการ จากหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ
คุณสมบัติผู้เข้ารับการบ่มเพาะ
๑. บุคคลทั่วไป ศิษย์เก่า คณาจารย์และบุคลากร ที่สนใจในการเริ่มต้นประกอบธุรกิจ
- ผู้ประกอบการวิสาหกิจที่ต้องการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์และบริการเพิ่มเติม และต้องการได้รับการบ่มเพาะเพื่อสร้างเสริมธุรกิจให้เข้มแข็งและยั่งยืน
- มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ
- มีความพร้อมในการเข้าร่วมกิจกรรมที่หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจจัดขึ้น
- มีความประสงค์ที่จะจดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลในอนาคต
โดยสถานภาพของผู้ประกอบการของหน่วยบ่มเพาะ แบ่งเป็น ๔ ระดับด้วยกัน คือ
- Pre Incubatee เป็นผู้ประกอบการรายใหม่ที่สมัครเข้ารับการบ่มเพาะวิสาหกิจ และได้ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการบริหารหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ ซึ่งผู้ประกอบการในระดับนี้จะได้รับการอบรมเพื่อเขียนแผนธุรกิจ
- Incubatee เป็นผู้ประกอบการที่สามารถเขียนแผนธุรกิจฉบับสมบูรณ์และได้รับการรับรองแผนธุรกิจจากคณะกรรมการบริหารหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ ซึ่งผู้ประกอบการในระดับนี้จะมีที่ปรึกษาในด้านต่างๆ เพื่อให้ความรู้ในแขนงต่างๆ ที่ผู้ประกอบการต้องการ
- Start–up Companies เป็นผู้ประกอบการที่เริ่มธุรกิจแล้ว โดยธุรกิจนั้นจะต้องเกิดจากการบ่มเพาะของหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจตามแผนธุรกิจที่วางไว้ มีรายได้จากธุรกิจอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบอย่างชัดเจน และมีการแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายของธุรกิจและข้อมูลการจ้างงานแก่หน่วยบ่มเพาะ
- Spin–off Companies เป็นผู้ประกอบการที่ยกระดับมาจาก Start–up Companies โดยจะมีคุณสมบัติคือ สามารถดำเนินธุรกิจอย่างมั่นคงโดยไม่จำเป็นต้องรับการสนับสนุนจากหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจอีก มีปริมาณและการเพิ่มขึ้นของรายได้อย่างชัดเจน มีการจ้างงานอย่างต่อเนื่องหรือปริมาณที่เพิ่มขึ้น และสามารถจดทะเบียนพาณิชย์ได้ ถ้าผู้ประกอบการต้องการ ซึ่งผู้ประกอบการที่จะเป็น Spin–off Companies จะต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจด้วย
เมื่อผู้ประกอบการได้ผ่านเข้าเป็นผู้รับการบ่มเพาะ ภายใต้หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจแล้ว หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ จะจัดสรรผู้ประสานงานหรืออาจารย์ที่ปรึกษาอย่างน้อย ๑ คน เพื่อเป็นผู้ประสานงานและดูแลให้ความช่วยเหลือ แก่ผู้รับการบ่มเพาะตลอดช่วงเวลาของการบ่มเพาะ ดังนั้นการขอรับบริการต่างๆ ผู้รับการบ่มเพาะสามารถแจ้งความต้องการผ่านผู้ประสานงานหรืออาจารย์ที่ปรึกษาได้โดยตรง ทั้งนี้ผู้รับการบ่มเพาะจะต้องกรอกข้อมูลความต้องการลงในแบบฟอร์มที่หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจกำหนด